ลูกครึ่งสัญชาติอังกฤษหรือบริติชทุกคนมีสิทธิ์ขอทำหนังสือเดินทางบริติชค่ะ ไม่ว่าจะเกิดที่ใดในโลกสัญชาติของเด็กที่เกิดจะปรากฎอยู่บนสูติบัตร เมื่อระบุว่าบิดามีสัญชาติอังกฤษหรือบริติช บุตรที่เกิดโดยมารดาสัญชาติไทยก็จะมีสัญชาติแรกตามมารดา และสัญชาติที่สองตามบิดาโดยอัตโนมัติ *นอกเสียจากว่าบิดาไม่มีคุณสมบัติในการส่งต่อสัญชาติให้บุตรที่เกิดนอกยูเคในสาเหตุใดๆก็ตาม ส่วนมารดาสัญชาติบริติชไม่ว่าจะคลอดลูกที่ใดในโลก ลูกก็จะมีสัญชาติบริติชแน่นอนโดยไม่มีเงื่อนไข การขอทำพาสปอร์ตเล่มแรกจากนอกยูเคมีขั้นตอนต่างกันออกไป ขั้นตอนในประเทศไทยมีดังนี้ค่ะ
1.
เตรียมเอกสาร
เอกสารทุกอย่างที่ใช้ในการทำหนังสือเดินทางบริติชเล่มแรกให้ลูกในประเทศไทยต้องเป็นต้นฉบับตัวจริง ยกเว้นหนังสือเดินทางของบิดาหรือมารดาที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ พร้อมถ่ายเอกสารทุกอย่างหนึ่งชุด ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจความถูกต้องของตัวจริงและสำเนา จากนั้นเอกสารตัวจริงจะได้รับคืนภายในวันเดียวกันค่ะ
Bring original documents and a photocopy of each one. The original documents will be returned to you at the application centre.
a) หนังสือเดินทางของบิดา/มารดาชาวบริติช
British Parent’s passport
b) สูติบัตรฉบับเต็มของบิดา/มารดาชาวบริติช
British parent’s birth certificate - Full version only
c) หนังสือเดินทางของบิดา/มารดาชาวไทย
Thai Parent’s passport
d) สูติบัตรของบิดา/มารดาชาวไทย
Thai parent’s birth certificate
e) บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของบิดา/มารดาชาวไทย
Thai parent’s Identification card and House Registration
f) ทะเบียนสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี)
Marriage, Name/surname change certificate (if applicable)
g) สูติบัตรไทยของลูก
Child’s Thai Birth Certificate
h) หนังสือเดินทางอื่นๆของลูก
Child’s other passports
i) ทะเบียนบ้านของลูก
Child’s residency evidence; House Registration
j) ฉบับแปลสำหรับทุกอย่างที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
Translations of any documents that are not in English
k) รูปถ่ายลูก 2 รูป พื้นหลังสีครีมหรือเทาอ่อน ให้ผู้รับรองเขียนข้อความตามตัวอย่างลงไปหลังรูป พร้อมเซ็นชื่อและลงวันที่
2 Passport-size photos of the child, not exceeding 6 months, taken against a plain cream or light grey background. The countersignatory needs to certify the photograph by giving the child’s full name, sign and date it.
2.
ผู้รับรอง
Countersignatory หรือผู้รับรองมีหน้าที่เซ็นรับรองตัวตนของผู้ที่จะขอพาสปอร์ต ผู้ที่สามารถรับรองให้ได้ต้องรู้จักกับผู้ที่ขอพาสปอร์ต หากผู้สมัครอายุต่ำกว่า 16 ผู้รับรองจะต้องรู้จักพ่อแม่ของเด็กมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ในฐานะเพื่อน เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่คนที่เคยพบกันด้วยหน้าที่แบบผิวเผินอย่างหมอฟัน ถ้าเป็นหมอประจำตัวที่รักษาด้วยมานานถึงจะได้ ผู้รับรองต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในสังคม หรือมีวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับ(หรือเกษียณจากอาชีพนั้น) ต้องไม่ใช่ญาติกัน และต้องไม่ได้อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
นอกจากนั้น เมื่อสมัครพาสปอร์ตจากประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆนอกยูเค ผู้รับรองต้องมีสัญชาติและถือพาสปอร์ตของประเทศเหล่านี้ บริติช, ไอริช, ประเทศในกลุ่มอียู, อเมริกัน, และประเทศในเครือจักรภพ อย่างไรก็ตาม การเดินเอกสารจะรวดเร็วขึ้นถ้าผู้รับรองถือพาสปอร์ตบริติชหรือไอริช
3.
ใบสมัคร
ดาวน์โหลด ปริ๊นท์ กรอกใบสมัครสองส่วนคือ
ให้ผู้รับรองกรอกรายละเอียดของตนเองและเซ็นรับรองลงในส่วนที่ 10
กรอกรายละเอียดบัตรเครดิตหรือเดบิตลงในแบบฟอร์มหนึ่งฉบับต่อหนึ่งใบสมัครที่จะไปยื่น เมื่อใบสมัครไปถึงสำนักงานหนังสือเดินทางแล้ว ค่าใช้จ่ายจะถูกหักออกจากบัญชีในสกุลเงินปอนด์ ค่าธรรมเนียมการทำพาสปอร์ตเด็กเล่มแรกราคา 65.50 ปอนด์ ค่าบริการส่งเอกสารสำคัญข้ามประเทศอีก 23.01 ปอนด์ รวมทั้งหมดเป็น 88.51 ปอนด์
4.
นัดและยื่นเอกสาร
ส่งอีเมลนัดวันยื่นไปที่ BangkokHMPO@vfshelpline.com ระบุวันและเวลาที่สะดวกไป 3 ตัวเลือก เจ้าหน้าที่จะส่งอีเมลคอนเฟิร์มวันเวลาที่แน่นอนกลับมา
สถานที่ยื่นเอกสาร:
เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว พาสปอร์ตจะถูกส่งกลับมาที่ศูนย์รับคำร้อง และเจ้าหน้าที่จะติดต่อให้เข้าไปรับพาสปอร์ตคืน ใช้เวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์ค่ะ